วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่10.ซอฟต์แวร์ประยุกต์


ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่



1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

2)
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส

3)
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

4)
ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

5)
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

* ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

advertisements

เรื่องที่9.ซอฟต์แวร์และซอฟต์แวร์ระบบ

เขียนโดย man@dmin   
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 00:07 น.
ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)

# คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

# เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้

# ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ

advertisements
หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย

1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น
  1. ระบบปฏิบัติการ
  2. และตัวแปลภาษา
ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น

เรื่องที่8.อุปกรณ์เก็บข้อมูล





 
 








 

อุปกรณ์เก็บข้อมูล
 
     มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลายชนิดสำหรับ PC ซึ่งประกอบด้วยฮาร์ดดิสก์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ และออปติคัลไดรฟ์ ที่ติดตั้งอยู่ในตัวเครื่องหลัก หรือแฟลชดิสก์, การ์ดหน่วยความจำ และออปติคัลไดรฟ์แม่เหล็ก (MO) ฯลฯ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชั่นต่างๆ เริ่มมีความสามารถหลายด้านมากขึ้น ระบบก็ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์ต่างๆ ทำให้ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลสำหรับ PC ทุกเครื่อง
นอกจากนี้ โมดูลหน่วยความจำยังอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ยกเว้นแต่ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น เมื่อ PC ปิด หรือเมื่อสิ้นสุดแอปพลิเคชั่น ข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำจะถูกลบออก เพื่อให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับการรันโปรแกรมอื่นต่อไปในอนาคต ฮาร์ดดิสก์ นั้นถือว่าเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลระยะยาว ผู้ใช้มักจะเก็บเวิร์กชีต, ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาลงบนฮาร์ดดิสก์ก่อน จากนั้นค่อยคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ว่าจะเก็บไว้ หรือแบ่งปันกับผู้อื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแฟลชดิสก์

     ออปติคัลไดรฟ์ หรือเครื่องเบิร์น ใช้ในการอ่านไดรเวอร์ หรือซอฟต์แวร์เครื่องมือที่เก็บอยู่ในแผ่น CD เมื่อพิจารณาถึงความสะดวกในการโหลดแล้ว ความสำคัญของออปติคัลไดรฟ์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ด้วยการใช้เครื่องเบิร์น คุณสามารถเบิร์นข้อมูลลงในดิสก์ นอกจากเบิร์น CD แล้ว ยังสามารถเบิร์นดิสก์ที่มีความจุขนาดใหญ่ได้ (4.7GB สำหรับแผ่น DVD ด้านเดียว ชั้นเดียว) แผ่นเหล่านี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้ยาวนาน ผู้ใช้อาจสามารถสร้างดิสก์ที่บรรจุภาพยนตร์ หรือดนตรีสำหรับเล่นโดยใช้เครื่องเล่น DVD ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตการใช้งานของเครื่อง PC
 

 
 
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์

ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์เคยใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลในยุคสมัยของ DOS ด้วยความจุ 1.44MB ซึ่งอาจมองดูแล้วไม่เพียงพอ และแผ่นดิสก์ฟล็อปปี้ยังเก็บรักษายาก นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นการบูตในปัจจุบันนั้นถูกแทนที่ด้วยแฟลชดิสก์ หรือแผ่น CD ได้แล้ว กระนั้นก็ตาม แม้พิจารณาถึงความจริงเหล่านี้แล้ว ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น คุณจำเป็นต้องใช้แผ่นฟล็อปปี้เมื่อทำการติดตั้งไดรเวอร์ซีเรียล ATA ก่อนที่จะทำการติดตั้ง Windows XP คุณควรติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรฟ์ไว้ใน PC สำหรับใช้งานที่ยามที่จำเป็น
 
 
คอมโบไดรฟ์

พูดโดยทั่วไปแล้ว ความจุของแผ่น CD-R ซึ่งมีความจุ 80 นาที/700MB ค่อนข้างที่จะเพียงพอสำหรับ การสำรองข้อมูลในสถานการณ์ส่วนมาก จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของเครื่องเบิร์นนั้นได้มาถึงจุดสูงสุด และราคาก็เป็นที่ยอมรับได้ในหมู่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้เครื่องเบิร์นกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการสร้าง PC ไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่มีข้อกำหนดของ DVD ออกมา ไดรฟ์ CD-R/RW ก็ได้เสริมฟังก์ชั่นการอ่านของไดรฟ์ DVD-ROM เข้าไปด้วยเพื่อสร้างเป็นคอมโบไดรฟ์ ความแตกต่างด้านราคาระหว่างคอมโบไดรฟ์ และไดรฟ์ CD-R/RW นั้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ไม่กี่ร้อยบาท) ดังนั้นการอัปเกรดไปเป็นคอมโบไดรฟ์ จึงนับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
 
 
เครืองเบิร์น DVD

แม้ว่าจะมีการแข่งขันระหว่างมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW ข้อได้เปรียบของความจุขนาด 4.7 GB (ด้านเดียว ชั้นเดียว) ของแผ่น DVD ก็ทำให้เครื่อง เบิร์น DVD เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ด้วยการเปิดตัวเครื่องเบิร์นที่สนับสนุนทั้งมาตรฐาน DVD-R/RW และ DVD+R/RW และแผ่นดิสก์สองชั้นแบบใหม่ที่เป็นที่หมายตาของผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องเบิร์น DVD จึงมีโอกาสเข้ามาแทนที่เครื่องเบิร์น CD-R/RW ในอนาคต
 
 
ฮาร์ดดิสก์
     ในบรรดาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของฮาร์ดดิสก์ ความเร็วการหมุนนั้นถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ความเร็วการหมุนปัจจุบันสำหรับทั้งฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA และ IDE ขนาด 3.5 นิ้วก็คือ 7200RPM; ในขณะนี้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็ว 5400 RPM นั้นไม่ค่อยพบแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งก็คือบัฟเฟอร์หน่วยความจำ ในขณะที่บัฟเฟอร์หน่วยความจำสูงขึ้น ความเร็วสำหรับโปรเซสเซอร์ในการเข้าถึงข้อมูลซ้ำๆ บนฮาร์ดดิสก์ก็เร็วขึ้นด้วย และสมรรถนะการเข้าถึงก็เพิ่มขึ้นด้วย บัฟเฟอร์หน่วยความจำของฮาร์ดดิสก์ส่วนมากจะเป็น 8 MB และความแตกต่างด้านราคาจากชนิด 2MB นั้นเล็กน้อยมาก ซึ่งคุณควรซื้อชนิด 8 MB มาใช้จะดีกว่า
 

 
 
ซีเรียล ATA V.S IDE
     นวัตกรรมของชิปเซ็ต Intel 915 และ 925 ไม่เพียงแต่เป็นการเข้าสู่ยุคใหม่ของ DDR2 และ PCI Express เท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้ซีเรียล ATA เพื่อทดแทน IDE อีกด้วย ชิปเซ็ต 945 และ 955 สนับสนุนซีเรียล ATA 3.0 Gb/s ซึ่งมีการขยายความยาวสายเคเบิลจาก 1 เมตรไปเป็น 2 เมตร และเพิ่มอัตราการถ่ายโอนเป็น 3Gbps (1.5 Gbps สำหรับซีเรียล ATA) พร้อมกับผนวกรวมคุณสมบัติฮ็อตพลัก, ฮ็อตสว็อป และ Native Command Queue (NCQ) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเข้ากันได้ที่อาจเกิดขึ้น
 

นอกเหนือจากฮาร์ดดิสก์แล้ว ออปติคัลไดรฟ์และเครื่องเบิร์นก็ใช้อินเตอร์เฟซ IDE เช่นกัน อินเตอร์เฟซ IDE มีการพัฒนาจาก ATA33, ATA66 และ ATA100 ไปเป็น ATA133 โดยที่มีแบนด์วิธใหญ่ขึ้น ขั้วต่ออินเตอร์เฟซนั้นมีความเข้ากันได้กับรุ่นก่อนหน้า สายเคเบิล IDE สามารถเป็นได้ทั้งแบบธรรมดา และแบบความหนาแน่นสูง ด้านซ้ายของรูปคือสาย ATA33 ธรรมดาสำหรับต่อกับออปติคัลไดรฟ์ ที่ด้านขวาเป็นสายความหนาแน่นสูง ATA66 ที่มีช่วงระหว่างสายเล็กกว่า การใช้สาย ATA33 เพื่อเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ ATA100 หรือ ATA133 จะทำให้ได้สมรรถนะที่ย่ำแย่จากฮาร์ดดิสก์
 

นอกจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการถ่ายโอน ความยาวของสายเคิลซีเรียล ATA นั้นก็ยาวกว่าสายเคเบิล IDE ถึง 46 ซม. และขนาดของสายก็ลดลงอย่างมาก การออกแบบดังกล่าวก็เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อ และสามารถป้องกันไม่ให้สายเคเบิลขวางกั้นการระบายอากาศเพื่อเพิ่มความเย็นภายในตัวเครื่อง ไม่เหมือนกับ IDE สายซีเรียล ATA นั้นใช้การออกแบบแบบจุดต่อจุด และไม่จำเป็นต้องใช้จัมเปอร์เพื่อตั้งค่า Master หรือ Slave

 

รูปด้านบนคือขั้วต่อซีเรียล ATA; รูปด้านล่างของอินเตอร์เฟซ IDE ขั้วต่อเพาเวอร์ของฮาร์ดดิสก์ซีเรียล ATA นั้นแตกต่างออกไป ถ้าแหล่งจ่ายไฟไม่สนับสนุนขั้วต่อเพาเวอร์แบบซีเรียล ATA คุณจำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์
 









 






 






เรื่องที่7.อุปกรณ์แสดงผล


อุปกรณ์แสดงผล

posted on 27 Jun 2008 08:16 by nongtonrakjang  in Do-You-Know
จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันจะเป็นจอสีทั้งหมด ส่วนจอขาวดำ ไม่มีให้เห็นแล้ว และส่วนมากจะเป็นจอแบบ CRT (Cathode Ray Tube) เพราะจอ CRT มีราคาสูง ส่วนเครื่องโน็ตบุ๊คจะเป็นจอแบบ LCD โดยขนาดนี้นิยมใช้จะอยู่ที่ 15 นิ้ว จอ CRT รุ่นใหม่ๆ จะมีกระจกหน้าจอแบบราบ
การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลหรือชื่องอย่างเป็นทางการคือ VGA Adapter Card ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผลของจอภาพ โดยข้อมูลที่จะแสดงจะถูกส่งจากซีพียูมายังการ์ดแสดงผล เพื่อประมวลผล ในจากดิจิตอลเป็นแอนะล็อก แล้วส่งไปยังวงจรควบคุมสี (RGB Circuit) ของจอภาพ เพื่อให้ปรากฏเป็นภาพบนหน้าจอ
เครื่องพิมพ์ ( Printer)
       เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่กับคอมพิวเตอร์มานานแล้วและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้โดยทั่วไปมี 4 ประการคือ
         1.
เครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากในอดีต การพิมพ์จะใช้หัวพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นเข็มเรียงกันเป็นแถวในแนวตั้ง มี 2 แบบ คือ 9 หัวเข็มและแบบ 24 หัวเข็ม อักษรที่ได้จะดูหยาบไม่ค่อยละเอียด
         2.
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถพิมพ์สีได้ด้วย ถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่นๆ
         3.
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายเครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพและความเร็วในการพิมพ์ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบหัวเข็ม และแบบพ่นหมึก มีความคมชัดสูงแต่ราคาก็สูง
         4.
เครื่องพิมพ์แบบพล็อตเตอร์ (Plotter Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์งานประเภทงานออกแบบ
การ์ดเสียง (Sound Card)
         
เป็นการ์ดที่ช่วยสนับสนุนและจัดการด้านเสียงของเครื่องพีซี และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นไฟล์เสียง สร้างเสียงดนตรี การบันทึกเสียงไปเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนการ Mix เสียง การ์ดเสียงรุ่นใหม่จะเป็นแบบที่เสียบในสล็อต PCI และมีคุณสมบัติ Plug and Play ซึ่งทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นมาก
ลำโพง (Speaker)
         
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงเสียงเหมือนลำโพงเครื่องเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้า จากการ์ดเสียงให้ออกมาเป็นเสียงต่างๆ ดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การ์ดเสียงเท่านั้น ต้องอาศัยการขับพลังเสียงของลำโพงด้วย ซึ่งลำโพงที่นิยมใช้กันทั่วไปจะเป็นลำโพงแบบตอบสนองเบสและเสียงแหลมที่ชัดเจนควรใช้ลำโพงแบบซัปวูฟเฟอร์จะให้เสียงเบสที่นุ่มนวลกว่าและแบบทวีตเตอร์ซึ่งจะให้เสียงแหลมที่ชัดเจน